กัญชง สรรพคุณ คืออะไร เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ หลังจากทางภาครัฐได้อนุมัติให้ “กัญชง” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ อาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัย ซึ่งเรื่องหนึ่งที่อยากบอกไว้ตรงนี้เลยก็คือ พืชชนิดนี้ไม่เหมือนกัญชาอย่างที่ใครบางคนอาจกำลังเข้าใจ และเพื่อไขข้อกระจ่างพร้อมปรับทัศนคติใหม่ทั้งหมด ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับความหมาย สรรพคุณ และประโยชน์อย่างเจาะลึกของพืชอย่างกัญชงได้เลย การันตีเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม

กัญชง (Hemp) คืออะไร มาทำความเข้าใจลักษณะของ กัญชง กัน!!

กัญชง หรือเฮมพ์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์เดียวกับกัญชา อาจเป็นเหตุผลที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นชนิดเดียวกัน Cannabis sativa L อันเนื่องมาจากมีต้นกำเนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นพืชดั้งเดิมที่อยู่ทางเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างอยู่บริเวณตอนกลางของทวีป ไล่เรียงตั้งแต่แถบทะเลสาบแคสเปียนถึงเทือกเขาหิมาลัย ค่อนไปทางตะวันตกของไซบีเรีย ก่อนจะกระจายมาถึงประเทศไทย ชนเผ่าต่างๆ ในที่สุด 

พืชชนิดนี้เติบโตง่าย ไม่ต้องการน้ำมาก สภาพอุณหภูมิแบบไหนก็เติบโตได้ดีหมด ไม่ต้องบำรุงใส่ปุ๋ญให้วุ่นวาย แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ด้านลักษณะของลำต้นจะมีความสูงมากกว่า 2 เมตร แตกกิ่งน้อย ข้อเป็นปล้อง ผลที่เป็นเมล็ดมีความแห้งเทา คล้ายรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ มีใบสีเขียวอ่อน หรืออมเหลือง แตกแฉก 7 – 11 แฉก เรียงตัวห่าง ไม่มีสารกระตุ้นประสาทเหมือนกัญชา

กัญชง สรรพคุณ

ความแตกต่างของกัญชง และ กัญชา

คำถามที่ว่า กัญชงกับกัญชาต่างกันยังไง คำถามที่หลายคนต่างสงสัยกัน เพราะ ต้นกัญชงแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพราะมีสาร THC ในปริมาณน้อยกว่ามากจึงไม่มีผลทำให้เกิดมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่นๆ เช่น ต้นกัญชงเป็นพืชที่สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอผ้าที่มีคุณภาพดี ลักษณะของกัญชงกับกัญชามีความแตกต่างกัน ดังนี้

ลักษณะของกัญชง

  • ชื่อภาษาอังกฤษ  Hemp
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannnabis sativa L. Subsp. Sativa
  • มีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน
  • เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวมีคุณภาพสูง
  • แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก
  • การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง
  • เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก
  • เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบด้าน
  • ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดศีรษะ
  • มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3%
  • การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะแคบ เพราะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยเพียงอย่างเดียว

ลักษณะของกัญชา

  • ชื่อภาษาอังกฤษ  Marijuana
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. Subsp. indica (Lam.) E. Small & Cronquist
  • มีความสูงไม่ถึง 2 เมตร
  • ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ
  • เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก ให้เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำ
  • แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก
  • การเรียงตัวของใบจะชิดกัน
  • เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก
  • เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดมันวาว
  • ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง 
  • มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) ประมาณ 1-10% 
  • การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะกว้าง เพราะปลูกเพื่อต้องการใบ
กัญชง สรรพคุณ

กัญชง สรรพคุณ จากส่วนต่างๆ ของกัญชง

กัญชง สรรพคุณ และ ลักษณะของ ลำต้นกัญชง

ลักษณะของ ลำต้นกัญชง

 ต้นกัญชงจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายเุพียงปีเดียว ลำต้นเป็นสีเขียวตั้งตรง มีความสูงได้ปรมาณ 1-6 เมตร มีลักษณะ อวบน้ำ เมื่อเป็นต้นกล้า และจะเริ่มมีการสร้างเนื้อไม้เมื่ออายุได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ การเจริญเติบโตจะช้าในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเพิ่มความสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร มีรากเป้นระบบรากแก้ว และมีรากแขนงเป็นจำนวนมาก การปลูกต้นกัญชงจะปลูกด้วยการใช้เมล็ด ซึ่งใช้เวลางอกประมาณ 8-14 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุต้น 3-4 เดือน กัญชงเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป

กัญชง สรรพคุณ ที่ได้จากต้นกัญชง

เปลือก กัญชง สรรพคุณ ที่ได้จากลำต้นนั้นสามารถนำไปทำเป็นเชือก หรือเส้นด้ายเพื่อใช้ในการถักทอทำเครื่องนุ่งห่ม, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี หรือใช้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นด้ายสายสิญจน์ รองเท้าคนที่ล่วงลับเพื่อเปิดทางนำไปสู่สวรรค์ พิธีเข้าทรง หรืออัวเน้งที่ชาวม้งให้ความสำคัญ เป็นต้น

ส่วนเนื้อไม้สามารถลอกเปลือกออกแล้วนำไปผลิตเป็นกระดาษได้ ในส่วนของแกนลำต้นมีความพิเศษตรงที่สามารถดูดซับกลิ่น น้ำมัน หรือน้ำได้ค่อนข้างดี แม้ในประเทศไทยเราจะยังไม่มี แต่ในต่างประเทศพบว่านำแกนลำต้นไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวล เช่น ถ่านไม้ แอลกอฮอล์ เอทานอล เมทานอล ฯลฯ รวมถึงนำไปผลิตเป็นสิ่งประดับตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ อาคาร

ใบกัญชง กัญชง สรรพคุณ และ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะของใบกัญชง 

ใบของต้นกัญชง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรุปฝ่ามือ แผ่นใบแก่แยกเป็นแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบ ค่อนข้างห่าง ขอบใบ จักเป็นฟันเลื่อยและเว้าลึกถึงโคนใบ ปลายใบสอบและเรียวแหลม ก้านใบบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร เมื่อมีการสร้างดอกจำนวนแฉกของใบจะลดลงตามลำดับ

สรรพคุณของใบกัญชง 

ใบกัญชงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค, อาหาร, แปรรูปเป็นใบชาเพื่อสุขภาพ, นำผงไปชงดื่ม, เป็นอาหารเสริม, ทำไวน์, เบียร์, เส้นพาสต้า, ขนมปัง, คุกกี้, ซอสปรุงรสจิ้มอาหาร รวมถึงเป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางที่จะช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ใครผิวบอบบาง แพ้ง่ายต้องใช้เลย ส่วนเส้นในตามความเชื่อจัดว่าเป็นมงคลมาก มีความเหนียว นุ่ม ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นำไปถักตัดกิโมโนด้วยความทนทานนับ 100 ปีก็ยังสภาพดีอยู่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ดอกกัญชง 

ลักษณะของดอก กัญชง

กัญชง จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศและ บางชนิดอยู่ต่างต้นกัน บางชนิดก็จะอยู่ในต้นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยจะเป็นชนิดที่อยู่ต่างต้นกัน โดยช่อดอกเพศผู้จะเป็นแบบ panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ มีสีเขียวอมเหลือง มีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีระยะเวลาบานประมาณ 2 เดือน ส่วนดอกเพศเมียจะเกิดตามซอกใบและปลายยอด ในบริเวณช่อดอกจะอัดแน่นกัน ช่อดอกจะเป็นแบบ spike ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มหุ้มรังไข่ไว้ ภายใน stigma 2 อัน สีน้ำตาลแดง อายุของดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะติดผล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กัญชง สรรพคุณ ที่ได้จากเมล็ดกัญชง

ลักษณะของเมล็ดกัญชง 

ต้นกัญชง จะมีผลเป็นเมล็ดแห้งสีเทา ลักษณะเป็นรูปไข่ ผิวเรียบเป็นมันและมีลายประสีน่ช้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีเทา มีขนาดความกว้างเฉลี่ยประมาณ 4.47 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5.11 มิลลิเมตร และมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 3.75 มิลลิเมตร ภายในเมล็ดมีอาหารสะสมจำพวกแป้งและไขมันอัดกันแน่น โดยมีน้ำมัน 29-34%, ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงประกอบไปด้วย linoleic acid 54-60%, linolenic acid 15-20%, oleic acid 11-13%

กัญชง สรรพคุณ ที่ได้จากเมล็ดกัญชง

น้ำมัน กัญชง สรรพคุณ ที่ได้จากเมล็ดสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ ตั้งแต่น้ำยาซักแห้ง, ครีมกันแดด, เครื่องสำอาง, สบู่, แชมพู,  โลชั่นบำรุงผิว, ลิปบาล์ม, ลิปสติก, น้ำมันเชื้อเพลิง, แผ่นมาสก์หน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังถูกนำไปสกัดเป็นครีมน้ำมันกัญชงช่วยบำรุงผิวที่แห้งให้เกิดความชุ่มชื้น รักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังแห้งแตก ลดอาการคัน ได้ผลลัพธ์ดี

หากไม่ได้เอาน้ำมันจากเมล็ดก็สามารถนำเมล็ดที่ได้ไปให้อาหารนก หรือแม้แต่คนก็รับประทานได้เช่นกัน กลายเป็นน้ำมันจากโอเมก้า 3  โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มวิตามินดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ลดความเสี่ยงเกิดมะเร็ง รวมถึงมีสาร linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid

นอกจากเรื่องของตัวน้ำมัน หรือเมล็ดโดยตรงแล้ว กัญชงยังมีประโยชน์ที่ได้จากโปรตีนในเมล็ดอีกด้วย ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก จะช่วยนำไปแปรรูปทำเป็นของคาวหวานเพื่อรับประทานได้หลากหลาย เช่น นม ไอศกรีม เนย ชีส น้ำมันสลัด เต้าหู้ โปรตีนเกษตร อาหารเสริม อาหารว่าง ฯลฯ หรือเอาไปแปรรูปเป็นแป้งแทนถั่วเหลืองก็ได้หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ต้นกัญชงก็คือกัญชา แต่ความจริงแล้วต้นกัญชงแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพราะ มีสาร THC ในปริมาณน้อยกว่ามากจึงไม่มีผลทำให้เกิดมึนเมาหรือเสพติด แต่พืช กัญชง สรรพคุณ ในด้านการแพทย์หลายด้าน แต่ก็ขอให้พึงระวังไว้ว่า สาร THC ภายในกัญชง ที่มีฤทธิ์ทา ใหเ้กิดอารมณ์เคลิบเคลิ้มและเป็นสุข หากเสพมากๆ จะทำใหเ้กิดอาการหวาดระแวงกังวลและซึมเศร้า ซึ่งมีฤทธิ์เสพติดเช่นเดียวกับกัญชา ดังนั้นจึงต้องใช้พืชสมุนไพรชนิดนี้ด้วยความระมัดระวังหรือเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์