กัญชาออแกนิค คือ กัญชาที่ปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช หรือสารเคมีที่เป็นพิษอื่นๆ การใช้สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าคำว่า อินทรีย์ ไม่มีคำจำกัดความทางกฎหมายที่เข้มงวด แต่เกี่ยวข้องกับวิธีการปลูกหรือผลิตบางสิ่ง โดยทั่วไปแล้วพืชกัญชาอินทรีย์จะปลูกโดยไม่มีปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงที่ใช้สำหรับพืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ วิธีการปลูกแบบออร์แกนิกมักคิดว่าดีต่อสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยสังเคราะห์หรือสารเคมีที่รุนแรง เช่น สารกำจัดวัชพืชเทียมหรือยาฆ่าแมลง การทำเกษตรอินทรีย์มักอาศัยการปลูกพืชหมุนเวียนและปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก พืชหมัก ใบไม้ ไนเตรตจากมูลนก และสารสกัดจากสาหร่าย
กัญชาออร์แกนิกไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่ผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการปลูกด้วย ผู้ปลูกแบบออร์แกนิก จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชแบบอินทรีย์ ซึ่งหมายความว่าต้น กัญชา จะไม่สัมผัสกับสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆ ใช้กับวิธีการปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชา ฟาร์มกัญชาออร์แกนิกปลูกผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยสังเคราะห์หรือยาฆ่าแมลง ใบกัญชาอินทรีย์จะถูกเก็บเกี่ยว เพื่อให้พวกมันสามารถแห้งตามธรรมชาติแทนที่จะถูกใช้เครื่องอบให้แห้ง รากของกัญชาไม่เคยถูกความร้อนหรือปรุงเพื่อการสกัดเพราะจะส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของรากกัญชาออร์แกนิก โดยพืช กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา ( Cannabis sativa ) สายพันธุ์อินดิกา ( Cannabis indica ) และสายพันธุ์รูเดอราลิส ( Cannabis ruderalis )


กัญชาแบบไหนถึงเรียกว่า กัญชาออแกนิค ??
เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆว่า กัญชาออแกนิค ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมว่ากัญชาที่มีลักษณะเป็นช่อ ดอกกัญชา ที่สวยงม ไม่ใช่กัญชาอัดแท่ง เป็นกัญชาออแกนิคทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังไม่ถูกต้องซะทีเดียว โดยตามหลักการเกษตรอินทรีย์หรือออแกนิค ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ( IFOAM ) ได้แบ่งหลักการของเกษตรอินทรีย์ไว้โดยสรุปได้ดังนี้
- เป็นการเกษตรที่ต้องใช้ส่วนประกอบทุกอย่างมาจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ( การปลูกแบบไฮโดโปนิกส์ จึงไม่ถือว่าเป็นออแกนิค ) โดยจะต้องมีมิติที่เสริมสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของดิน พืช สัตว์ และมนุษย์ด้วย
- ต้องศึกษาสภาพแวดล้อม และอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา และวงจรของธรรมชาติ ให้เหมาะสมกับการผลิต เช่น ต้องมีการปรับดินให้มีชีวิต ต้องศึกษาการปนเปื้อน สารเคมีในดินก่อนเพาะปลูก และต้องศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบข้าง อย่างเช่น ถ้าไร่ข้างๆมีการใช้สารเคมีก็จะต้องมีกระบวนการป้องกันอยู่ด้วย
- ต้องมีความเท่าเทียมกันในการผลิต แปรรูป การจำหน่ายที่ต้องอยู่ในราคาที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ไม่มีการผูกขาด


เพราะฉะนั้นแล้ว เวลาจะเรียกพืชกัญชา ว่า กัญชาออแกนิค นั้น เราจึงควรจะต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันในรายละเอียดส่วนลึกอีกซักหน่อยเพื่อให้ได้ความเข้าใจ และสามารถเรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิ กัญชาในโลกนี้มีหลากหลายชนิดมากที่เราค้นพบ และยังไม่ได้ค้นพบ โดยเราจะยกตัวอย่างให้รู้จักเบื้องต้นอยู่ 2 สายพันธุ์หลักๆคือ ซาติว่า ( Cannabis sativa ) และพันธุ์ อินดิกา ( Cannabis indica ) ให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ และรู้จักคุณสมบัติของกัญชาสายพันธุ์ต่างๆ
สายพันธุ์ยอดฮิต ปลูกง่าย ได้ผลผลิตดี
- กัญชาสายพันธุ์ ซาติวา ( Cannabis sativa ) : ซาติวา หรือ Sativa เป็นภาษา ละติน แปลว่า เพาะปลูก ถูกตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnaeus หรือ Carl Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ชาว สวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ ไว้เมื่อปี ค.ส. 1753 ( พ.ศ.2296 ) มีแหล่งกำเนินมาจากบริเวณเส้นศูนย์สูตร ในแถบประเทศ โคลัมเบีย เม็กซิโก ( ทวีปอเมริกา ) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ลักษณะทางพันธุกรรม ของพืชกัญชา ซาติวา มีลักษณะลำต้นหนา มีความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาวเรียว สีเขียวอ่อน ( เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ อินดิกา ) มีระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อาการร้อน กัญชาสายพันธุ์ ซาติวา จะมีสาร THC ( Tetrahydrocannabinol ) ที่จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ( Psychoactive ) ที่สูงกว่ากัญชาสายพันธุ์ อินดิกา อย่างชัดเจน - กัญชาสายพันธุ์ อินดิกา ( Cannabis indica ) : โดยผู้ที่ค้นพบพืชกัญชาสายพันธุ์นี้ก็คือ ณอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค ( Jean-Baptiste Lamarck ) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ ในปี ค.ศ. 1785 ( พ.ศ.2328 ) พืชกัญชาสายพันธุ์ อินดิกา ได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ถูกค้นพบในประเทศ อินเดีย และบริเวณแถบตะวันออกกลาง
– ลักษณะทางพันธุกรรม ของพืชกัญชา อินดิกา จะมีลักษณะลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม ( เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ ซาติวา มีสีที่เข้มกว่า ) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศที่เย็น สายพันอินดิกามีสาร CBD ( Cannabidiol ) ซึ่งจะออกฤทธิ์ระงับประสาท ( Sedative ) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง อย่างได้ผล
เทคนิคการปลูกพืช กัญชาออแกนิค ให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย
เทคนิค และวิธีการปลูกพืชกัญชาให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้วนั้น ควรมีการเตรียมพร้อมและศึกษาให้ละเอียดก่อนลงมือทำ เพราะการปลูกกัญชาก็คล้ายกับการปลูกพืชเพื่อนำผลไปกินหรือขายต่อไปนั่นเอง แต่กัญชานั้นค่อนข้างมีรายละเอียดเรื่องการปลูกที่อาจจะเยอะหน่อย หลายคนเลยไม่รู้ว่าจะปลูกยังไง เลือกพันธุ์ไหน ปลูกแล้วไม่เห็นขึ้น วันนี้สรุปรายละเอียดง่ายๆ สำหรับมือใหม่ไว้ให้แล้ว


สายพันธุ์พืช กัญชา ที่แนะนำสำหรับนักปลูกมือใหม่
- หางกระรอกไทย
- หางเสือ
- ฝอยทอง
- ตะนาวศรี
- เกริงกระเวียน
ขั้นตอนการปลูก
- เริ่มเพาะเมล็ด
– นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน ( บางคนก็ข้ามขั้นตอนนี้ )
– นำเมล็ดมา ห่อด้วยทิชชู่ พรมน้ำให้ชุ่ม
– ใส่กระปุก ปิดฝา เก็บไว้ในที่มืดไม่ให้โดนแสงแดด
– 2-3 วัน ให้เช็กว่ามีรากงอกรึยัง ถ้ามีเป็นอันใช้ได้ - เพาะต้นอ่อน
– ใช้ พีทมอส เพราะสามารถเติบโตได้ดี เมล็ดมีโอกาสโตได้เยอะ
– บางคนจะผสม พีทมอส ,เวอร์มิคูลไลท์ ,เพอร์ไลท์ ส่วนมากจะเป็น 70% 10% 10%
– นำเมล็ดกดลงไปไม่ต้องลึกมาก
– ปลูกในที่ร่มสัก 2-3 วัน พรมน้ำให้ชุ่ม ( อย่าแฉะ )
– พ้น 3 วันให้เอาออกไปรับแดด
– ประมาณ 10 วันเตรียมย้ายลงกระถาง - ลงกระถาง
– เริ่มจากกระถางเล็กๆ ก่อน เช่น 6 นิ้ว
– เตรียมดิน ง่ายสุดคือ หน้าดิน ,ปุ๋ยหมัก 1 ต่อ 1 ผสมกัน ( อีกสูตรคือ พีทมอส ,ปุ๋ยหมัก ,เพอร์ไลท์ ,เวอร์มิคูไลท์ ,มูลไส้เดือน )
– ง่ายกว่านั้นหาซื้อดินสำหรับปลูกกัญชามาใช้ / นำต้นอ่อนมาใส่
– อย่ารดน้ำมากเกินไป
– ปลูกในพื้นที่อย่าให้กัญชาใกล้พื้นที่มีมลพิษ เพราะกัญชาจะดูดซับ
เทคนิคแก้อาการเมากัญชา ?
สำหรับผู้ที่บริโภคกัญชาแล้วมีอาการ เมากัญชาเกินไป หรือรู้สึกว่าไม่โอเค มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้อาการเมากัญชาหรืออาการผิดปกติเล็กน้อยในเบื้องต้น ดังนี้
- หากปากแห้งคอแห้ง ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมาก
- ดื่มน้ำมะนาวครึ่งลูก ผสมเกลือปลายช้อน
- เคี้ยวเม็ดพริกไทย
- หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ให้ดื่มน้ำขิง