กัญชา เป็นพืชที่เราคุ้นชื่อมานาน และรู้จักในนามของพืชต้องห้ามเพราะกฎหมายจัดว่าเป็นยาเสพติด ส่วนกัญชง ก่อนหน้านี้เราไม่คุ้นชื่อกันเท่าไหร่ แต่ช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มได้ยินบ่อยจนคุ้นหูมากแล้วเหมือนกัน เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ปลดล็อกให้ใช้ประโยชน์มากมาย ของพืช 2 ชนิดนี้ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจ และในเชิงสันทนาการ และในบทความต่อไปนี้ เราจะมาพูดถึงคุณสมบัติของลักษณะทั่วไปของพืชกัญชา ตั้งแต่ ราก ไปจนถึง ช่อดอกกัญชา ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง


กัญชา คืออะไร ?
พืชกัญชา มีชื่อทาง วิทยาศาสตร์ว่า : Cannabis indica ( Cannabis sativa forma indica ) ต้นพืชกัญชา จัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ( แล้วแต่สายพันธุ์ ) ลำต้นมีขนาดเล็ก ตั้งตรง ลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทา และไม่ค่อยแตกสาขา สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิดบนโลก
พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากในทวีปเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอัฟกานิสถาน และปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย แต่ทว่าในทางการแพทย์นั้น พิชกัญชาเป็นยารักษาโรคชั้นดี โดยในพืชกัญชามีประโยชน์มากมาย อาทิเช่น สามารถรักษาโรคข้อ รักษามะเร็ง รักษาโรคลมชัก ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ แก้โรคนอนไม่หลับ แก้โรคบิด ปวดท้อง แก้โรคกล้ามเนื้อกระตุก แก้อาการปวดหัว ไมเกรน รักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น
ลักษณะทางกายภาพ ของต้นกัญชา ช่อดอกกัญชา – ราก
ลำต้น
ลำต้นของพืชกัญชามีลักษณะตั้งตรง สีเขียว เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาล มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีลักษณะอวบน้ำ เมื่อเป็นต้นกล้า และเริ่มมีการสร้างเนื้อไม้เมื่อเจริญเติบโตได้ 2-3 สัปดาห์ มีความสูงเฉลี่ยคงที่ คือประมาณ 200 ซม. และสำหรับต้นกัญชาเพศผู้ จะมีเม็ดกลมเล็กๆ บริเวณก้านใบติดกับลำต้น
ในส่วนของลำต้นของพืชกัญชาเพศเมียจะมีดอกเป็นฝอยสีขาว และยังมีกัญชากะเทย ที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ในต้นเดียวกัน เนื่องจากมีการออกดอก ผิวของลำต้นจะพบ Trichomes (ไตรโคม) เปลือกของลำต้น สามารถลอกออกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย โดยเปลือกนอกจะให้เส้นใยที่ยาว เหนียว แต่ค่อนข้างหยาบ ส่วนเปลือกด้านในที่ติดกับเนื้อไม้ ให้เส้นใยที่ละเอียดกว่า แต่จะมีขนาดที่สั้นกว่า
ราก
ราก เป็นส่วนที่ดูดซึมอาหารเพื่อไปหล่อเลี้ยงลำต้น ใบ และดอกของกัญชา ดังนั้น ไม่แปลกที่รากของพืชกัญชา จะมีสารอาหารโคลีน (choline) ซึ่งเป้นสารอาหารที่จำเป็น และเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท อะซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อการพัฒนา และรักษาเซลล์ให้สุขภาพดี และรากกัญชาเป็นระบบรากแก้ว (Tap root system) มีรากแขนงจำนวนมาก รูปแบบการใช้นั้นมีอยู่หลากหลาย แต่วิธีที่ง่าย และเก่าแก่ที่สุดคือการต้มรากกับน้ำเปล่า อาจมีรสชาติที่ขมมากกว่า ชา ที่ทำมาจากใบหรือดอก โดยในปัจจุบัน ในประเทศที่มีการอนุญาตการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ ได้มีการผลิตรากกัญชาเพื่อการรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานนั่นเอง
เมล็ด
ลักษณะของเมล็ดของพืชกัญชา เป็นเมล็ดเดี่ยว เมื่อแห้งแล้วจะมีขนาดเล็ก เมล็ดล่อนไม่แตก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กว้าง ผลของเมล็ดเรียบเป็นมัน มีสีน้ำตาลแกมเทา หรือสีเทาเข้ม มีใบประดับหุ้ม ในเมล็ดจะมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ด้านใน เมล็ดมีลักษณะกลมรูปไข่ ขนาด 3-4 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย 8-24 กรัมต่อเมล็ด 1,000 เมล็ด
เมล็ดของพืชกัญชาจะออกประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังออกดอก น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะเป็นน้ำมันไม่ระเหย (fixed oil) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสีทาบ้าน ทำสบู่ รสชาติของเมล็ดกัญชา มีรสชาติหวาน ใช้ในอาการที่กับ กระเพาะ และลำไส้ใหญ่ เพื่อรักษาอาการท้องผูก
ใบส่วนหน้า
ใบของพืชกัญชา เป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบแตกออกเป็นแฉกๆ ประมาณ 5-8 แฉก แต่ละแฉกเป็นรูปยาววงรี ปลายและโคนขอบ ส่วนขอบใบทุกแฉกเป็นหยักแบบฟันเลื่อย มีขนาดกว้างประมาณ 0.3-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ลักษณะของใบโดยรวมจะคล้ายๆกับใบละหุ่ง ใบฝิ่นต้น และใบมันสำปะหลัง ผิวใบด้านบนมีตุ่มเป็นสีเขียวเข้ม มีขนต่อม Trichomes (ไตรโคม) กระจายทั่วผิวใบด้านบน
ใบส่วนหลัง
ในส่วนด้านล่างท้องของใบ มีสีเทาอ่อนเล็กน้อย ส่วนด้านล่างมีขนอ่อนนาบไปกับแผ่นใบ ก้านใบ ยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ในก้านหนึ่ง จะมีใบเดี่ยว 3-11 ใบ มีกลิ่นเหม็นเขียว ด้านล่างของใบกัญชาพบโครงสร้างของเซลล์ป้องกันสองประเภท ประเภทแรก คือ เข็มสูงชเ้นไตรโคเมอร์ และประเภทสอง ต่อมลักษณะกลม เช่นไตรโคเมียร์ต่อม เป็นแหล่งที่มาของ THC (Tetrahydrocannabinol) สารเคมีออกฤทธิ์ทางจิตในพืชกัญชา และพบ CBD (Cannabidiol) มีคุณสมบัติลดอาการเจ็บปวด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ช่อดอกกัญชา
ในส่วนของ ดอกกัญชา (Bud) มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีดอกเพศผู้ และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (monoecious) และชนิดดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน อยู่คนละต้น (dioecious) ในประเทศไทย พบว่าพืชกัญชามีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายยอด
ดอกเพศผู้ ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบ panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกันเป็นอิสระมีสีเขียวอมเหลือง พบเกสรเพศผู้ 5 อัน ระยะเวลาการบานประมาณ 2 เดือน
ดอกเพศเมีย เกิดตามซอกใบและปลายยอด ในบริเวณช่อดอกจะอัดตัวกันแน่น ช่อดอกเป็นแบบ spike ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มห่อหุ้มรังไข่ไว้ ภายในมี stigma 2 อัน สีน้ำตาลแดง อายุของดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ และมี Glandular trichomes เป็นส่วนของพืชกัญชาซึ่งมีอยู่หนาแน่นในบริเวณที่ช่อดอก
สารสำคัญใน ช่อดอกกัญชา
นอกจากลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างน่าสนใจแล้วนั้น สารสกัดที่ได้จากพืชทั้ง 2 ชนิดก็มีปริมาณที่ต่างกันด้วย กัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวแบ่งแยกพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกัน
THC เป็นสารที่ทำให้เมาหรือเคลิบเคลิ้ม พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ในทางการแพทย์สาร THC มีประโยชน์ช่วยลดอาการปวด ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รักษาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด แต่การใช้สารชนิดนี้ในการรักษาก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยปากแห้ง ตาแห้ง หรือการตอบสนองช้าลงได้
สาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ใน กัญชง มากกว่า กัญชา โดยจะมีประมาณ 1-20% (แล้วแต่สายพันธุ์) และในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก เมื่อเสพสารชนิดนี้เข้าไป จะไม่มีอาการเมา หรือเคลิบเคลิ้ม เหมือนกับกัญชา คุณสมบัติทางการแพทย์ของสาร CBD มีหลากหลาย ช่วยลดอาการปวด แก้อาการนอนไม่หลับ แก้อาการโรคลมชัก แม้จะใช้ในปริมาณที่มากก็ไม่มีผลข้างเคียง และสารนี้ยังนิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอาง และสกินแคร์ต่างๆด้วยเช่นกัน


ประโยชน์
- สามารถใช้กัญชาเพื่อบรรเทาหอบหืด ยาแก้หอมหืดทุกตัวมีข้อเสีย คือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชา จะช่วยขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม
- การใช้กัญชา ในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกา เกือบล้าน ที่ป่วยด้วยต้อหิน ที่สามารถรักษาได้ด้วย กัญชา เพราะกัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมง ในคนปกติและในคนที่ความดันของลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปาก หรือทางหลอดเลือดดำ ให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธุ์กัญชามากกว่า จะเกิดฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รับษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดของตาได้มากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่สามารถช่วยได้ และการผ่าตัดก็เป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป
พืชกัญชามีโยชน์ในการรักษาหลายอย่าง และในมะเร็ง อาจใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร กัญชาจะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง สารในกัญชาจะช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่เป็นผลสรุป และสารในกัญชาที่ให้ผลที่เป็นประโยชน์อย่างมากเลยก็คือ Cannabidiol และในบาทที กัญชา เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
แต่สิ่งที่กัญชาช่วยได้แน่ในการบำบัดมะเร็งคือการป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รับยาต้านมะเร็งต้องทุกข์จากการคลื่นไส้อาเจียนอย่างแรง ประมาณร้อยละ 24 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วย ยาแก้อาเจียนทั่วไปใช้ไม่ได้ผล อาการคลื่นไส้อาเจียน ไม่เพียงแต่ไม่น่าพอใจ แต่ยังรบกวนประสิทธิภาพการบำบัดรักษาด้วย การอาเจียนอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดอาหารและซี่โครง ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้