ก่อนที่เราจะไปทำความร้จักกับพืชกัญชา ( Cannabis ) บทความต่อไปนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของส่วนต่างๆของพืชกัญชา ตั้งราก – ดอกกัญชา และจะได้รู้ว่าพืชกัญชา มีประโยชน์ส่วนไหนบ้าง เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงประโยชน์ที่แท้จริงของพืชกัญชา สอดคล้องไปกับกฏหมายกัญชาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าพืชกัญชานี่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นเลยทีเดียว
พืชกัญชาคืออะไร มาจากไหน ?
กัญชา ( Cannabis ) เป็นพืชดั้งเดิมที่มีอยู่มากมายทั่วโลก ซึ่งขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่นของทวีป เอเชียและยุโรป จากการสันนิษฐานว่ามีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้างอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเชีย ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียน ไปจนถึงทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยและทางตะวันตกของไซบีเรีย เป็นพืชเสพติดมาแต่ดึกดำบรรพ์ ในประเทศจีนมีการปลูกพืชชนิดนี้เพื่อใช้เป็นประโยชน์โดยนำมาพืชเหล่านี้ทำใช้ประโยชน์จากใย และปลูกเป็นพืชเพื่อเสพติดมาอย่างยาวนาน ในประเทศจีนมีการใช้เส้นใยเพื่อนำมาถักทอมาตั้งแต่สมัย 5,000-4,000 ปีก่อน คริสกาล ต่อมาในศตวรรษแรก จึงมีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยนำมาทำเป็นกระดาษ ในประเทศยุโรป มีการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชามาตั้งแต่ 700 ปีก่อน คริสตศักราช ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ทำเป็นเชือกเพื่อการล่าสัตว์ และในช่วงศตวรรษที่ 14 – 15 ในประเทศ อิตาลี มีการปลูกพืชกัญชากันมากเพื่อนำเส้นใยมาทำเชือกใช้ในการเดินเรือเพื่อการเดินทาง ทางทะเลเนื่องจากมีความเหนียวและทนทาน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลูกพืชกัญชากระจายไปทั้งในอเมริกาเหนือ และเมริกาใต้อีกด้วย


ประเทศไทยของเราก็มีประวัติศาสตร์เก่าแก่เหมือนกันที่พบว่ามีการใช้กัญชาช่วงต้น รัตนโดสินทร์ โดยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดพระแก้วจารึกไว้ ประเทศไทยมีการปลูกพืชกัญชามากตามแนวเขาในภาคเหนือ แม้จะมีการใช้กัญชาเป็นยามาตั้งแต่โบราณมากกว่า 3,000 ปี แต่พืชกัญชาก็จัดเป็นยาเสพติดในบางประเทศ แต่ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้มีกฏหมายให้กัญชาไม่ผิดกฏหมายอีกต่อไป และยังมีกฏหมายควบคุมตามมาอีกมากมาย ในอดีตชาวเขาเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีการใช้เส้นใยจากลำต้นของต้นกัญชาเพศผู้ โดยใช้เส้นใยจากลำต้นที่ออกดอกใหม่ มีอายุระหว่าง 3-4 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เส้นใยมีความเหนียว เบาและเป็นสีขาวเหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้าอีกด้วย
ลักษณะทางพันธุกรรมของพืช กัญชา ( ราก-ดอกกัญชา )
- ลำต้น : พืชกัญชานั้นจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร มีลำต้นขนาดเล็ก ตั้งตรง ลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทา ( ขนติดบริเวณลำต้น เพื่อป้องกันแมลงตัวเล็กที่เป็นอันตรายกับใบและดอก ) และไม่ค่อยแตกสาขา ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ต้นกัญชาจะงอกงามดีมาก พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ อัฟกานิสถาน และทวีปแอฟริกาเขตร้อน ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และ ฮาวาย พบปลูกมากในยุโรป ประเทศบราซิล อเมริกันแถบตะวันออก และปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย
- ใบกัญชา : ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบแตกออกเป็นแฉกๆ ประมาณ 5-8 แฉก แต่ละแฉกจะเป็นรูปยาวรี ปลายและโคนสอบ ส่วนขอบในทุกแฉกเป็นหยักแบบฟันเลื่อย มีขนาดกว้างประมาณ 0.3-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ลักษณะของใบโดยรวมจะคล้ายๆ กับใบละหุง ใบฝิ่น และใบมันสำปะหลัง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างท้องใบมีสีเทาอ่อนเล็กน้อย มีขนต่อมกระจายทั่วผิวใบด้านบน ส่วนด้านล่างมีขนอ่อนนาบไปกับแผ่นใบ ก้านใบยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ในก้านหนึ่งจะมีใบเดี่ยว 3-11 ใบ มีกลิ่นเหม็นเขียว และค่อนข้างฉุน
- ดอกกัญชา : พืชกัญชาจะออกดอก เป็นช่อที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว ดอกจะเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งดอกช่อเพศผู้และดอกช่อเพศเมีย ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น โดยช่อดอกและใบของเพศผู้จะจัดเรียงตัวกันแบบห่างๆ ซึ่งจะต่างจากต้นกัญชาเพศเมียที่จะเรียงชิดกัน ดอกเล็ก และดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่
- ผล/เมล็ด : ผลแห้งขนาดเล็ก หรือเมล็ดอ่อนที่ดี ต้องไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กว้าง ผิวผลเรียบเป็นมัน สีน้ำตาลแกมเทาหรือสีเทาเข้ม มีใบประดับหุ้ม ในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็กซ่อนอยู่โดยจะมีลักษณะที่กลมกว่าเมล็ดด้านนอก
องค์ประกอบทางเคมีของ ดอกกัญชา
ในพืช กัญชา มีสารเคมี 400-500 ชนิด โดยช่อดอกตัวเมียจะมียาง ( Resin ) ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญหลักคือ phytocannabinoids ซึ่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการสกัดที่ใช้ความร้อน อุณหภูมิประมาณ 122-140 o C จึงจะได้ Cannabinoids ที่เป็นสาระสำคัญหลักในการออกฤทธิ์ 2 ชนิด คือ Delta-8 delta-9-tetrahydrocannabinol ( THC ) และ cannabidiol ( CBD ) โดยตัวรับการทำงานของสารกลุ่มนี้ในร่างกายเรียกว่า cannabinoid receptors ( CB ) ที่แบ่งเป็น CB1 และ CB2 ซึ่ง CB1 พบการแสดงออกส่วนใหญ่ในประสาทส่วนกลาง และมีผลให้ THC ออกฤทธิ์ส่วนใหญ่ในประสาทส่วนกลางสำหรับ CB2 พบในส่วนอื่น ๆและพบมากที่เซลล์เม็ดเลือดขาวและสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน สารทั้ง 2 ชนิดนี้มีค่า Pharmacokinetics ที่ใกล้เคียงกัน THC เมื่อให้ทางปากมีค่า Bioavailability ประมาณ 4-20% และเมื่อให้โดยสูดเข้าทางเดินหายใจหรือโดยการสูบมีค่า Bioavailability ประมาณ 10-69 % ดังนั้นค่า Bioavailability ของกัญชาจึงขึ้นกับรูปแบบผลิตภัณฑ์ยา เช่น vaporization, smoking, capsules, transdermal, tincture และ oro-mucosal sprayนอกจากสารทั้ง 2 ชนิดข้างต้นแล้วนี้ ยังมีสารกลุ่ม Terpenes และ Flavonoids รวมไปถึง Cannabichromene Tetrahydrocannabiviarin Cannabinol Cannabigerol และในส่วนเมล็ดของกัญชานั้น ยังพบว่ามีอาหารสะสมพวกแป้งและไขมันอัดแน่น โดยมีน้ำมันถึง 29-34 % มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ( unsaturated fatty acids ) สูง ประกอบด้วย linoleic acid ( C18:2 ) ร้อยละ 54-60 linolenic acid ( C18:3 ) ร้อยละ 15-20 และ oleic acid ( C18:1 ) ร้อยละ 11-13


ประโยชน์ของ ดอกกัญชา และส่วนอื่นๆของกัญชา มีอะไรบ้าง ??
เมื่อพืชกัญชาถูกปลดล็อคจากสารเสพติดสู่การนำมาใช้อย่างเสรี แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแม้พืชกัญชา จะให้โทษอย่างที่ใครหลายคนกล่าวถึง แต่ในทางประโยชน์แล้ว พืชกัญชาถือว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณอย่างยอดเยี่ยม ดังนั้น เพื่อเป็นความรู้ เราตามไปดู ประโยชน์ของกัญชา กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
ในพืชกัญชาจะมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Cannabinoids ซึ่งมีสารหลักอย่าง THC ( Tetrahydrocannabidiol ) และ CBD ( Cannabidiol ) โดยนำมาสกัดและใช้ทางการแพทย์ สาร THC มีฤทธิ์ต่อประสาททำให้เกิดความผ่อนคลาย ง่วงนอน ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นความอยากอาหาร ส่วนสาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดอาการชักเกร็ง ละมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิด ( ในหลอดทดลอง )


การนำกัญชามาใช้เพื่อรักษาโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายมากมาย โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ยังมีข้อมูลจำกัด อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อเป็นแนวทางการใช้ โดยมีข้อบ่งใช้ดังนี้ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย
และนอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการใช้รักษาโรคอื่น ๆ โดยต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้โรคอัลไซเมอร์
- โรคพาร์กินสัน
- โรคปลอกประสาทอักเสบประเภทอื่น ๆ
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้รับประโยชน์
- โรคมะเร็งต่าง ๆ จากการที่สาร cannabinoids มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง แต่ยังไม่มีผลวิจัยที่แน่ชัดเกี่ยวกับการรักษามะเร็งในมนุษย์ รวมถึง การยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ และยับยั้งการกระจาย