พืชกัญชาทั่วโลก มีอยู่มากมาย ในการศึกษาถึงปัจจุบันมีมากกว่าหมื่นสายพันธุ์ มีหลักฐานการเริ่มใช้กัญชาในประเทศฝั่งตะวันตกมามากกว่า 5,000 ปี พบว่ากัญชามีผลในการบรรเทาอาการป่วยหลายอาการทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันก็เกิดอาชญากรรมขึ้นมากมายจากลุ่มผู้ใช้กัญชา กัญชาจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติด เนื่องมาจากผู้ใช้ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมที่เสพติดและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โดยพืชกัญชา จะแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลักได้แก่ สายพันธุ์ Sativa , INDICA , Ruderalis ที่จะให้สรรพคุณ และสารสำคัญ ที่แตกต่างกันออกไป
พืช กัญชาog ยังคงมีสายพันธุ์ย่อยอีกมากมายพอสมควร ซึ่งที่เราเห็นว่ามีสายพันธุ์เยอะขนาดนี้ก็เพราะว่ามีการทดลองเอากัญชาสายพันธุ์หลักมาผสมพันธุ์ข้ามกันไปมา เลยทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีการตั้งชื่อเรียกสายพันธุ์ที่ได้ออกมาใหม่อีก บางครั้งอาจทำให้เกิดการสับสนเเละไม่เข้าใจถึงสายพันธุ์นั้นๆ อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อราจะนำมันไปใช้รักษาอาการต่างๆ เราเองจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจว่า สายพันธุ์กัญชาในโลกที่สำคัญ มีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก คือ ซาติว่า (Sativa) อินดิก้า (Indica) และรูเดราลิส (ruderalis) เราลองมาทำความรู้จักถึง 3 สายพันธุ์หลักนี้กันว่ามีความโดดเด่นและมีคุณสมบัติอย่างไรในการจะนำไปรักษาโรค


กัญชาและกัญชงเหมือนกันไหม ?
กัญชา เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับกัญชง ( อยู่ในวงศ์ Cannabaceae ) แต่พืชทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน โดยจะพบว่าสารออกฤทธิ์ที่มีปริมาณมากในกัญชง คือ cannabidiol ( CBD ) ซึ่งเป็นสารแบบ non-psychotropic chemical มีฤทธิ์ทำให้สงบ ลดอาการวุ่นวาย และต้านฤทธิ์เมาประสาทหลอน ในขณะที่ในกัญชาจะมีสารออกฤทธิ์ THC ในปริมาณมาก
ประโยชน์ของกัญชง
- ใช้ในอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอ มีความแข็งแรงและนุ่มกว่าผ้าฝ้าย
- ส่วนของใยมีลักษณะคล้ายไม้ สามารถนำมาผลิตใช้ทดแทนเป็นกระดาษป่านได้ มีความทนทาน
- ความแข็งแรงของเส้นใยสามารถใช้เป็นวัสดุก่อสร้างหรือปูหลังคาได้
- เมล็ดมีโอเมก้า 3 สูง สกัดมาปรุงในอาหาร ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด น้ำมันจากเมล็ดนำไปในใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือ รักษาโรคผิวหนังได้ดี โปรตีนจากเมล็ดสามารถทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ทดแทนแป้งจากถั่วเหลือง
ประโยชน์ของกัญชา
- มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร มีผลต่อ ความจำและความรู้สึก ทำให้ผ่อนคลายลดอาการคลื่นไส้
- สารสกัดทำเป็นยาใช้ในทางการแพทย์
ประโยชน์ของพืชสองพี่น้องตระกูล Cannabis นี้มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ด้วยความที่กัญชา มีสารมึนเมา THC ในปริมาณที่สูงกว่ากัญชง การใช้งานจึงต้องเป็นผู้ที่เข้าใจวิธีการสกัดนำมาประกอบอาหาร หรือใส่ในผลิตภัณฑ์ ที่ควรอยู่ภายในการกำกับดูแลของผู้เชี่ยวชาญ หรือแจ้งเตือนประชาชน สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้จะได้หลีกเลี่ยง เพื่อให้ไม่เกิดอันตรายกับร่างกาย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีหรือสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้งานถ้าไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งทางการแพทย์
กัญชาสายพันธุ์ Indica คืออะไร ?
ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค ( Jean-Baptiste Lamarck ) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้ เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 ( พ.ศ. 2328 ) กัญชาสายพันธุ์อินดิกา ได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดีย และบริเวณตะวันออกกลาง เช่น ปากีสถาน อัฟกานิสถาน โมร็อกโก ลักษณะ มีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม ( เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ซาติวา ) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น สรรพคุณ ของสายพันธุ์ Indica มีสาร CBD ( Cannabidiol ) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับประสาท ( Sedative ) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง
ในกัญชาทุกสายพันธุ์ ไม่ได้มีสารออกฤทธิ์เพียง THC กับ CBD แต่ยังพบสารออกฤทธิ์ ( Cannabinoids ) มากถึง 144 ชนิดและยังค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีสารเคมีอื่นอีกมากกว่า 450 ชนิดโดยสารเคมีเหล่านี้ไม่ได้เป็นสารออกฤทธิ์โดยตรง แต่มีผลต่อคุณสมบัติอื่นของกัญชา เช่น กลิ่น รส อย่างไรก็ตาม THC และ CBD เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดที่โดดเด่น พบได้มาก และมีการศึกษามากที่สุด


คุณสมบัติของกัญชาสายพันธุ์ อินดิกา ( Indica )
กัญชาสายพันธุ์อินดิกา จะให้ความรู้สึกที่ Stoned หรือ มีความผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดและช่วยระงับประสาท ส่วนมากสายพันธุ์ที่ CBD เด่น นั้นจะเหมาะกับผู้คนที่ต้องการหาตัวเลือกเพื่อให้กับอาการ เจ็บปวดเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็ง อาการวิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับ สำหรับการออกฤทธิ์ของอินดิกานั้น จะให้ Full-body effect ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผ่อนคลายร่างกาย และกล้ามเนื้อ เหมาะกับการพักอยู่บ้านทั้งวันหรือคลายเครียดหลังเลิกงาน อีกทั้งยังเหมาะกับการ ใช้เพื่อรักษา กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคเอ็มเอส MS หรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ( Multiple sclerosis ) อาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรื้อรัง ( Fibromyalgia ) โรคแพ้ภูมิตนเองหรือ โรคพุ่มพวง (Systemic lupus) และโรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) และเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดและคลื่นไส้จากการใช้เคมีบำบัดหรือคีโม เช่นเดียวกัน
สาร CBD ในกัญชาสายพันธุ์ อินดิกา ( Indica ) คืออะไร ?
สาร CBD ( Cannabidiol ) และสาร THC ( Tetrahydrocannabinol ) จัดเป็นสารในกลุ่มคานนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ พบในพืชสกุล Cannabis คือ กัญชา (Marijuana) และ กัญชง (Hemp) โดยสารสำคัญ THC และ CBD มีมากในส่วนของช่อดอก สาร CBD ไม่จัดเป็นยาเสพติด เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ( Non-psychoactive ) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร
กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ทำผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้นหากเป็น CBD ที่ได้จากการนำเข้ายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นถ้าต้องการใช้ CBD ต้องปลูกกัญชง หรือกัญชาเองในประเทศไทย
คุณสมบัติทางยาของสาร CBD ( Cannabidiol )
คุณสมบัติทางยาของสาร CBD มีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ ลดความกังวล และควบคุมอาการชักได้ โดยไม่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท CBD สามารถช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ลดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ และยังช่วยรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่สามารถรักษาด้วย CBD พบว่า CBD มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น
- ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดเมื่อใช้ยามาตรฐานไม่ได้ผล
- ลดอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
- โรคลมชักรุนแรงสองชนิดที่ชื่อว่า Lennox-Gastaut syndrome และ Dravet syndrome
- ควบคุมอาการปวดเรื้อรัง รักษาอาการปวดจากโรคปลอกประสาทอักเสบ (โรคเอ็มเอส) ลดปวดและคลื่นไส้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งข้อบ่งชี้ของทางออสเตรเลียกำหนดไว้ว่าให้ใช้เมื่อการรักษามาตรฐานยังได้ผลไม่ดีเท่านั้น
- บรรเทาอาการลมบ้าหมู
- บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- บรรเทาอาการพาร์์กิินสััน (อาการสั่น)
- ลดปัญหาสิวและอาการผิวแห้ง
- บรรเทาอาการซึมเศร้า
- ลดอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดในผู้ติดเชื้อ HIV
- บรรเทาอาการโรคเบาหวาน
- บรรเทาอาการทางจิตเภทต่่าง ๆ
- บรรเทาอาการลงแดงจากสารเสพติดอื่น ๆ
- บรรเทาและป้องกันโรคหัวใจ
คุณสมบัติทาง อาหาร ของสาร CBD ( Cannabidiol )
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 429 ( 27 ส.ค.2564 ) ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องมี CBD ได้ไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ( ppm ) และ THC ไม่เกิน 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ประเภทอาหาร คือ
- ผลิตภัณฑ์เสริม ชนิดเม็ด แคปซูล และของเหลว
- เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสอัดก๊าซ
- เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสไม่อัดก๊าซ
- เครื่องดื่มธัญชาติ (Cereal and grain beverages)