ในปัจจุบัน ประเทศได้ปลดล็อคพืชกัญชา ( Cannabis Sativa ) ให้ถูกกฏหมาย จากพืชที่เป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 กลายมาเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ซึ่งสามารถครอบครอง และใช้งานได้อย่างมีขีดจำกัด นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน พืชกัญชาจึงเป็นที่นิยมกับเหล่าสายเขียว และผู้บริโภคที่ต้องการใช้สารต่างๆเพื่อนำไปใช้ในทางการแพทย์ หรือ อาหาร และยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย จากสารต่างๆภายในตัวของพืชกัญชาได้อย่างมากมาย


กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae สายพันธุ์ที่เราพบเห็นกันได้บ่อย ไม่ว่าจะจากหนังต่างๆหรือที่ออกข่าวกันจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา ( Cannabis Sativa ) สายพันธุ์อินดิกา ( Cannabis Indica ) สายพันธุ์รูเดอราลิส ( Cannabis Ruderalis ) และส่วนคำว่า มาลีฮวนน่า ( Maleehuana ) ที่ได้ยินกันบ่อยๆนั้น เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ ( Marijuana ) ที่แปลว่ากัญชา แต่ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรีแนวเพลงเพื่อชีวิต เพื่อสื่อถึง อิสรภาพจากกรอบสังคม และ ความคิด
กัญชา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Cannabis sativa L. subsp. Indica ลำต้นของกัญชา มักจะมีลักษณะเตี้ยและเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียวจัด ลักษณะใบจะมีประมาณ 5-7 แฉก และพบว่ามีสารในกัญชามากกว่า 500 ชนิด โดยจะมีสารในกลุ่ม cannabinoids ( มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบ 21-carbon terpenophenolic skeleton ) อยู่มากที่สุด และมีสารในกลุ่มนี้ ไม่น้อยกว่า 100 ชนิด สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ Δ-9 tetrahydrocannabinol ( THC ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ทำให้เมาเคลิ้ม ประสาทหลอน สำหรับสารชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกัน เช่น cannabidiol ( CBD ) cannabinol ( CBN ) cannabichromene ( CBC ) และ cannabigerol ( CBG ) รวมทั้งยังมีสารในกลุ่ม terpene และ flavonoid ความเข้มข้นของ cannabinoids นั้นจะมีความแตกต่างกันตามส่วนของพืช โดยจะพบความเข้มข้นสูงสุดของสารออกฤทธิ์ THC ในดอกเพศเมียที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์
กฏหมายการปลูก – สกัด – ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ แยกเป็น 2 ส่วน
- ปลูกเพื่อสุขภาพ ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องมีการจดแจ้ง ผ่านแอปฯ ปลูกกัญ
- การปลูกเพื่อ สกัด-แปรรูป ต้องได้รับอนุญาต จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )
กัญชาสายพันธุ์ ซาติวา ( Cannabis Sativa )
ซาติว่า เป็นภาษา ละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส ( Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus ) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 ( พ.ศ. 2296 ) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลอมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาวเรียว สีเขียวอ่อน ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและอากาศร้อน ลักษณะช่อดอกส่วนมากจะเป็นช่อเรียว ยาว แต่บางสายพันธุ์ก็เกาะกลุ่มกัน เป็นลักษณะคล้ายป๊อปคอร์น ซึ่งสายพันธุ์ในประเทศไทยทั้งหมดที่มีส่วนมากจะเป็นสายพันธุ์ Sativa ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์หางกระรอก ด้ายแดง ( Thai Stick ) หางกระรอกอีสาน ตะนสวศรีก้านแดงและก้านเขียว เกริงกระเวียน หางเสือ และอีกกว่า 10 สายพันธุ์ที่เป็นกัญชาของไทยที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งต้นกำเนิดของกัญชาไทย มาจากสายพันธุ์ หางกระรอก ( Thai Stick ) ของจังหวัด สกลนคร เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชทานเมล็ดพันธุ์กัญชาให้กับกระเหรี่ยงและชาวบ้านปลูกที่อุทยานแห่งชาติพูพาน จังหวัด สกลนคร


การออกฤทธิ์ของสาร THC ในกัญชาสายพันธุ์ ซาติวา ( Sativa )
กัญชาสายพันธุ์ ซาติวา THC ( Tetrahydrocannabinol ) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ( Psychoactive ) สูงกว่าสายพันธุ์ อินดิกา ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า จึงได้รับความนิยมจากเหล่านักปรัชญา ศิลปิน นักดนตรี ซึ่งกัญชาที่เป็นสายพันธุ์ ซาติวา ที่มีสาร THC สูง
และเมื่อเข้าสู่ร่างกายไป จะทำปฏิกิริยากับระบบ CB1 ในระบบของ Endocannabinoid system ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ทุกคน และส่งผลกระตุ้นสมองโดยตรง ซึ่งช่วยเพิ่มสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัว จึงถูกนิยมนำกัญชาสายพันธุ์ Sativa ใช้ในช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาพักผ่อน
ประโยชน์ของพืชกัญชาสายพันธุ์ ซาติวา
เนื่องจากเป็นกัญชาสายพันธุ์ที่มีสาร THC ที่สูงโดยสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและต้องทำคีโมจนไม่รู้สึกอยากอาหาร และยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ลดอาการปวดหัวและช่วยในเรื่องของโรคไมเกรน ลดอดการคลื่นไส้ รวมไปถึงอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย แต่ผลเสียของกัญชาสายพันธุ์ ซาติวา ที่มีสาร THC จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดอาการเมา เคลิบเคลิ้ม ( High )
และสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้ และเมื่อได้รับสาร THC ในครั้งแรกในปริมาณที่มากเกิน จนเกิดอาการเมา ( High ) อย่างหนักจนเกิดอาการกลัว และไม่กล้าใช้อีกครั้ง ซึ่งต้องบอกก่อนว่ากัญชาไม่เสพติดและโอการในการ Overdose ได้น้อยมาก เนื่องจากการที่ใช้กัญชาจนร่างกายเกิดการ Overdose ได้นั้น ต้องใช้ ( กัญชาog > บทความที่ 2 ) ประมาณ 1 กิโลกรัม ภายใน 15 นาที ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะเมื่อร่างกายได้รับสาร THC จากดอกเพียง 2-3 กรัม ก็จะเกิดอาการ High แล้วนั่นเอง


สาร THC มีผลอย่างไรกับร่างกาย
THC เป็น psychoactive compound ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกับ cannabinoid receptors ซึ่งพบอยู่ 2 กลุ่มหลักคือ cannabinoid receptors type 1 (CB1) และ cannabinoid receptors type 2 (CB2) โดย CB1 จะพบมากที่ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nerve system) และสมอง โดยเฉพาะในส่วน basal ganglia, hippocampus, cerebellum, hypothalamus และ frontal cortex ซึ่งสะท้อนกลไกการเกิด psychotropic effect ของ THC ในขณะที่ CB2 receptors จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหาร และในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ม้ามและต่อมทอนซิล ดังนั้นจึงมีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม และยังพบว่ากัญชามีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการแพทย์ โดยถูกนำไปใช้เพื่อลดการเจ็บปวดเรื้อรังในผู้ใหญ่ การลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด การรักษาโรคปลอกประสาทแข็ง รวมทั้ง สามารถนำไปใช้สำหรับโรคลมชักที่รักษาได้ยากในเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน มะเร็งระยะสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์